Thailand LAB INTERNATIONAL & Bio Asia Pacific ภูมิใจนำเสนอซีรีย์งานสัมมนาออนไลน์ เชื่อมต่อทุกความคืบหน้าเพื่อการปรับตัวในยุคโควิด-19

Thailand LAB INTERNATIONAL & Bio Asia Pacific
ภูมิใจนำเสนอซีรีย์งานสัมมนาออนไลน์ เชื่อมต่อทุกความคืบหน้าเพื่อการปรับตัวในยุคโควิด-19
สำหรับอุตสาหกรรมห้องปฏิบัติการแห่งภูมิภาค

 

        (กรุงเทพฯ – 12 เมษายน 2564) วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค ผู้จัดงาน Thailand LAB INTERNATIONAL เผยความพร้อมของการจัดงานในปี 2564 พร้อมยืนหยัดจัดเวทีเจรจาการค้าและการประชุมสัมมนา นวัตกรรมและเทคโนโลยี เครื่องมือในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อตอบสนองทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยจัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 11และในปีนี้มีกำหนดการจัดงานระหว่างวันที่ 1-3 กันยายน 2564 ณ Hall 102-104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ ซึ่งจัดคู่กับงาน Bio Asia Pacific หรืองานประชุมนานาชาติและงานแสดงผลงานเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ การแพทย์และสุขภาพสมัยใหม่แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีพันธมิตรร่วมจัดงานหลักอย่าง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS และ สมาคมการค้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ STTA ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน ตลอดจนสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมให้การสนับสนุน ที่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนต่อวงการเครื่องมือห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และชีววิทยาศาสตร์อย่างสมบูรณ์สำหรับภูมิภาคนี้
 


พลิกวิกฤตสู่โอกาสแห่งความสำเร็จ

        แม้ว่าในปีที่ผ่านมาจะเป็นปีที่เต็มไปด้วยความท้าทายมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการระบาดของโรค COVID-19 แต่งาน Thailand LAB INTERNATIONAL ก็สามารถก้าวผ่านอุปสรรคดังกล่าว ทั้งผู้จัดงานและพันธมิตรทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อสร้างงานแสดงสินค้าและเวทีเจรจาการค้าสำหรับ เครื่องมือในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์งานแรกและงานเดียวในปีที่ผ่านมา สำหรับการจัดงาน Thailand LAB INTERNATIONAL และ Bio Asia Pacific ในปี 2563 มีผู้ประกอบการทั้งสิ้น 109 บริษัท ที่เข้าร่วมแสดงสินค้า นวัตกรรมต่างๆ พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ชั้นนำกว่า 500 แบรนด์ โดยมีผู้เข้าร่วมงานมากถึง 8,067 ราย จากหลากหลายช่องทาง โดยแบ่งเป็นผู้เข้าร่วมชมงานโดยตรงที่ไบเทคถึง 65% และอีก 35% ลงทะเบียนเข้าชมงานผ่านระบบออนไลน์ โดย มีการงานประชุมสัมมนามากถึง 94 หัวข้อการประชุม ทั้งงานสัมมนาทั่วไปและงานสัมมนาออนไลน์ นอกจากนี้ ยังมีงานสัมมนาในรูปแบบ Hybrid บริเวณ Bio Square กว่าอีก 30 หัวข้อ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานเป็นจำนวนมาก ซึ่ง Bio Square ถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์สำคัญของการจัดงานในปีที่ผ่านมา ซึ่งจากความสำเร็จดังกล่าวผู้จัดฯ ยังคงเชื่อมั่นว่า Bio Square เป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ที่สำคัญและพร้อมที่จะพัฒนารูปแบบและยกระดับ ให้มีความเข้มข้นและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เพื่อดึงดูดให้ผู้เข้าชมงานทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่สนใจเข้ามารับชมและมีส่วนร่วม ได้พร้อมเพรียงกันทั้งจากในบริเวณงานหรือจากช่องทางออนไลน์เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และความรู้ต่างๆ โดยปราศจากปัญหาด้านการเดินทางต่างๆ เพื่อคนในอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง

        “ในปีที่แล้ว งานThailand LAB ก็มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดต่างประเทศ มามุ่งเน้นกลุ่มผู้เข้าชมงานภายในประเทศมากยิ่งขึ้น และคัดสรรคุณภาพของผู้เข้าร่วมงานที่เป็นกลุ่ม Buyer ตัวจริงเข้ามา เรียกได้ว่าจำนวนอาจไม่เท่าปีก่อนแต่คุณภาพของผู้เข้าชมงานในปีที่ผ่านมาได้ร้บคำชมเชยจากทางผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความต้องการซื้อและกำลังซื้อจริง ทำให้เกิดดีลภายในงานมากมาย” คุณอนุชา พันธุ์พิเชฐ ผู้จัดการโครงการอาวุโส งาน Thailand LAB INTERNATIONAL & Bio Asia Pacific กล่าว “อย่างไรก็ตามในปีนี้ เรายังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์ COVID-19 อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมแผนการรับมือและความพร้อมรับกับทุกสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการค้า การลงทุนและรักษาสภาวะการลงทุน เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการด้านเครื่องมือ นวัตกรรม ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรมด้านห้องปฏิบัติการและชีววิทยาศาสตร์และการแพทย์และสุขภาพสมัยใหม่ของประเทศในภาพรวม ซึ่งเราได้เตรียมตัวเปิดให้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้าได้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป” คุณอนุชา กล่าวเพิ่มเติม

 


เจาะลึกข้อมูลเชิงลึกผ่านงานสัมมนาออนไลน์

        สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ในปีที่ผ่านมา ซึ่งยังคงส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ความเป็นอยู่ของคนทั่วไปในประเทศ ตลอดจนความมั่นคงทางเศรษฐกิจระดับโลก การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่มีการวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ และระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ดังการนั้น การศึกษาทำความเข้าใจสาเหตุของโรค ลักษณะการติดและแพร่กระจายของเชื้อ และที่สำคัญที่สุดคือ การป้องกันการติดเชื้อ ตลอดจนการติดตามความคืบหน้าของการผลิตวัคซีน COVID-19 ดังนั้นก่อนจะถึงการจัดงาน Thailand LAB INTERNATIONAL ในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ ทางผู้จัดงานฯ จึงพร้อมนำเสนอ ซีรีย์ของงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อที่น่าสนใจครอบคลุมทั้งในหัวข้อเกี่ยวกับ COVID-19 จนกระทั่งถึงประเด็นร้อนอย่างกัญชา ฯลฯ

        สำหรับงานสัมมนาออนไลน์ครั้งที่ 1 ซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 นี้ จะนำเสนอในหัวข้อ "หน้ากากอนามัย: การทดสอบและมาตรฐาน" โดย รศ.ดร. พานิช อินต๊ะ หัวหน้าหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา เนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ การบรรยายการทดสอบหน้ากากอนามัยตามมาตรฐานนานาชาติ การสัมภาษณ์ที่มาของการทดสอบหน้ากากอนามัย การร่างมาตรฐานหน้ากากผ้า รวมทั้งแนวคิดที่น่าสนใจของวิทยากร และสุดท้ายคือ LAB Visit ซึ่ง รศ.ดร. พานิช อินต๊ะ จะพาทุกท่านไปเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการและทดสอบคุณภาพหน้ากากในสถานที่จริงแบบเจาะลึกทุกรายละเอียด ท่านที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/YRxRQXmoWYYgggun7

 

Save the date: Thailand LAB INTERNATIONAL & Bio Asia Pacific ระหว่างวันที่ 1-3 กันยายน 2564 ณ ไบเทค กรุงเทพฯ 
รายละเอียดเพิ่มเติม หรือสนใจติดต่อจองพื้นที่แสดงงาน ได้ทางเว็บไซค์ www.thailandlab.com | www.bioasiapacific.com
โทร. 02 1116611 ต่อ 240-243 อีเมล์ thailandlab@vnuasiapacific.com หรือโซเชียลมีเดียทุกช่องทาง 
----------------------------------------------------------------------------------
ฝ่ายสื่อการการตลาด กรุณาติดต่อ 
คุณแสงทิพ เตชะปฏิภาณดี  อีเมล saengtip@vnuasiapacific.com      โทร. 02-1116611 ต่อ 330  www.vnuasiapacific.com 
คุณศศิวิมล นิติกรวรากุล      อีเมล sasiwimon@vnuasiapacific.com   โทร. 02-1116611 ต่อ 331  www.vnuasiapacific.com     

 

 

เกี่ยวกับ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค
        วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค หนึ่งในกลุ่มบริษัทเครือ วีเอ็นยูฯ ดำเนินกิจการด้านการจัดงานแสดงสินค้าในประเทศต่างๆทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมืองอูเทร็คท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ นอกจากนั้นมีสาขาในเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และ กรุงเทพ ประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจการจัดงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติของกลุ่มบริษัท Royal Dutch Jaarbeurs สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท Royal Dutch Jaarbeurs  ได้ร่วมทุนกับ บริษัท TCC Assets ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทชั้นแนวหน้าที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในภูมิภาค ทำให้บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค ดำเนินกิจการครอบคลุมตลาดเอเชียแปซิฟิกได้อย่างสมบูรณ์ มีการจัดงานแสดงสินค้าและกิจกรรมส่งเสริมการขายทั้งรูปแบบปกติและทางออนไลน์มากกว่า 19 งาน โดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมปศุสัตว์ เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร สัตว์เลี้ยง อาหาร เทคโนโลยีห้องปฏิบัติการ, ชีววิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี 5G และ IoT และการจัดการกับภัยภิบัติ รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.vnuasiapacific.com